23 สัญลักษณ์แจ้งเตือนบนหน้าปัดรถยนต์

สัญลักษณ์แจ้งเตือนที่ปรากฏขึ้นบนหน้าปัดรถยนต์ตอนคุณสตาร์ตรถหรือขับขี่ใช้งานอยู่มีความหมายอย่างไร สัญลักษณ์แต่ละตัวแจ้งเตือนเรื่องอะไร และแจ้งเตือนแบบไหนคืออันตราย ไม่ควรขับต่อ ควรนำเข้าเช็กที่ศูนย์ทันที บทความนี้ได้รวบรวมสัญลักษณ์พร้อมความหมายมาให้คุณแล้วถึง 23 สัญลักษณ์

สีแจ้งเตือนของสัญลักษณ์บนหน้าปัดรถยนต์

สีของสัญลักษณ์ไฟแจ้งเตือนบนหน้าปัดรถยนต์คือตัวแยกระดับความอันตรายของสถานการณ์ที่รถยนต์ของคุณประสบอยู่ โดยสีของไฟแจ้งเตือนแบ่งออกเป็น 3 สี คือ แดง เหลือง และเขียว (หรือฟ้า หรือขาว) โดยแบ่งตามระดับความรุนแรงหรือฉุกเฉินต่างกันดังนี้

 

  • ไฟสีแดง เตือนว่าระบบในรถยนต์กำลังมีปัญหาอย่างร้ายแรง อาจเกิดความเสียหายหรืออันตรายได้ ควรหยุดรถและตรวจสอบหาความผิดปกติทันที
  • ไฟสีเหลือง เตือนว่าระบบในรถยนต์มีปัญหาบางอย่าง แต่ยังใช้งานรถยนต์ได้อยู่ ควรนำรถไปตรวจเช็กและซ่อมแซมโดยเร็วที่สุด หรือแจ้งเตือนว่าใช้ระบบนี้อยู่และควรปิดเมื่อไม่ต้องการใช้
  • ไฟสีเขียว (หรือฟ้า หรือขาว) แจ้งบอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบในรถยนต์ที่คุณกำลังใช้งานอยู่  

สัญลักษณ์แจ้งเตือนบนหน้าปัดไฟสีแดง

สัญลักษณ์เหล่านี้จะแจ้งเตือนเป็นไฟสีแดง ซึ่งหมายความว่ารถยนต์ของคุณมีอาการผิดปกติอย่างรุนแรง อันตราย อาจเกิดอุบัติเหตุได้ คุณหยุดรถและเช็กอาการตามที่ไฟแจ้งเตือนบอกทันที 
1. ไฟเตือนระบบเบรก
เบรกมือค้างอยู่ ยังไม่ได้เอาเบรกมือลงหรือปลดเบรกมือลงไม่สุด หากฝืนวิ่งต่อ รถจะเคลื่อนตัวได้ช้าเพราะติดเบรกอยู่ และเบรกอาจไหม้ได้  

2. ไฟเตือนอุณหภูมิเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือน้ำในหม้อน้ำหมดหรือรั่ว จนส่งผลให้การระบายความร้อนเรื่องยนต์มีปัญหา ต้องจอดเช็กทันที ไม่เช่นนั้นเครื่องยนต์อาจน็อกได้

ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ

3. ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ น้ำมันเบรกรถยนต์ต่ำเกินมาตรฐาน อาจได้กลิ่นไหม้ร่วมด้วย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำมันเครื่องรั่วหรือตัวกรองน้ำมันเครื่องอุดตัน ส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนเกินไป เครื่องยนต์ทำงานเสียงดังผิดปกติ และอาจทำให้เครื่องยนต์ดับ

4. ไฟเตือนระบบป้องกันล้อล็อกผิดปกติ (ABS) ระบบ ABS เกิดความผิดปกติ ระบบ ABS หรือระบบป้องกันล้อล็อกอาจไม่ทำงาน แต่ระบบเบรกปกติยังทำงานอยู่ หากเบรกขณะวิ่งด้วยความเร็วสูง ล้ออาจล็อก คุณจะไม่สามารถควบคุมล้อได้

บทความที่น่าสนใจ  เปลี่ยนโช๊คอัพ แล้วปัญหาจะจบ จริงไหม?

5. ไฟเตือนพลังงานแบตเตอรี่ แจ้งว่าระบบไดชาร์จทำงานผิดปกติ ไม่สามารถจ่ายไฟเข้าชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์หรือไม่สามารถจ่ายไฟเข้าไปยังระบบรถยนต์ได้ หากไฟเตือนนี้แสดงขึ้นบนหน้าปัดขณะที่รถยนต์ยังทำงานอยู่ คุณควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์เพื่อประหยัดแบตเตอรี่ให้มากที่สุด เช่น วิทยุ เครื่องปรับอากาศ และอย่ารีบดับเครื่องยนต์ทันทีเพราะอาจสตาร์ตเครื่องไม่ติดอีก และควรนำรถยนต์ไปตรวจเช็กไดชาร์จทันที

ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย
6. ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย
จะปรากฏขึ้นทันทีเมื่อสตาร์ตรถและค้างไว้นานประมาณ 5 วินาทีเพื่อแจ้งว่าระบบถุงลมนิรภัยมีปัญหา ถุงลมนิรภัยอาจไม่ทำงานหากเกิดอุบัติเหตุ คุณจึงควรนำรถเข้าไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการโดยทันที

7. ไฟเตือนปิดประตูไม่สนิท สัญลักษณ์จะปรากฏขึ้นหากคุณปิดประตูไม่สนิทหรือมีคนเปิดประตูรถทิ้งไว้ เพื่อเตือนให้ปิดประตูให้สนิทก่อนจะออกเดินทาง

สัญลักษณ์แจ้งเตือนบนหน้าปัดไฟสีเหลือง

สัญลักษณ์เหล่านี้จะแจ้งเตือนเป็นไฟสีเหลือง ซึ่งเตือนบอกว่ารถยนต์มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่เรื่องรุนแรง ยังสามารถใช้งานรถยนต์ต่อไปได้ ไม่ต้องหยุดรถทันที แต่ควรนำรถไปตรวจเช็กและแก้ไขให้เร็วที่สุด หากทิ้งเอาไว้อาจจะส่งผลเสียรุนแรงต่อระบบต่าง ๆ และอาจก่อให้เกิดอันตรายในภายหลังได้

1. ไฟเตือนระดับน้ำมันเหลือน้อย
หากน้ำมันในถังเหลือประมาณ 10% สัญลักษณ์นี้จะปรากฏขึ้นมาบนหน้าปัดรถยนต์ เพื่อแจ้งให้รีบเติมน้ำมัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วน้ำมันที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดนี้จะพาคุณไปต่อได้ประมาณ 20-30 กิโลเมตร
ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติ
2. ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติ
เตือนว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระบบเครื่องยนต์หรือระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ซึ่งเป็นไปได้หลายกรณี จึงควรนำรถเข้าตรวจสอบหาสาเหตุให้เร็วที่สุด
 
ไฟเตือนยางลมอ่อน
3. ไฟเตือนยางลมอ่อน
ลมยางในล้อใดล้อหนึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐาน ไม่เหมาะกับการใช้งาน ยางอาจมีรูรั่ว ควรเช็กลมยางและรอยรั่ว เพื่อให้ยางยังคงเกาะถนนได้ดีและไม่เปลืองน้ำมัน
ไฟเตือนน้ำในที่ปัดน้ำฝน
4. ไฟเตือนน้ำในที่ปัดน้ำฝน
แจ้งเตือนว่าระดับน้ำสำหรับใช้งานที่ปัดน้ำฝนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรเติมน้ำเข้าถังเก็บน้ำสำหรับที่ปัดน้ำฝันเพื่อใช้ทำความสะอาดกระจกหน้า
ไฟเตือนการใช้ไฟตัดหมอกหลัง
5. ไฟเตือนการใช้ไฟตัดหมอกหลัง
แจ้งเตือนว่าไฟตัดหมอกด้านหลังกำลังทำงาน เพราะไฟตัดหมอกต้องใช้เฉพาะสถานการณ์ที่หมอกลงจัดเท่านั้น ไม่ควรเปิดใช้ในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนที่ไม่มีหมอก เพราะแสงไฟตัดหมอกสว่าจ้ามาก อาจรบกวนผู้ขับขี่รถยนต์คันข้างหลังจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ 
ไฟเตือนระบบควบคุมการทรงตัว
6. ไฟเตือนระบบควบคุมการทรงตัวของรถหรือระบบป้องกันการลื่นไถล
จะปรากฏขึ้นเมื่อเซ็นเซอร์จับได้ว่าตัวรถสูญเสียการควบคุมบนถนนที่มีพื้นผิวเปียกลื่นและคุณได้กดปิดระบบนี้ไป ระบบแจ้งเตือนเพื่อให้คุณเปิดใช้งานระบบนี้อีกครั้ง แต่หากสัญลักษณ์นี้กะพริบถี่ ๆ ขณะที่รถอยู่บนถนนลื่นหรือช่วงฝนตก แสดงว่าระบบนี้กำลังทำงานช่วยควบคุมการทรงตัวของรถอยู่
7. ไฟเตือนผ้าเบรกบาง
แจ้งเตือนว่าระบบเบรกมีปัญหาหรือผ้าเบรกบางจนใกล้หมดแล้ว การเบรกอาจไม่ได้ผลเต็มที่ ระยะเบรกเพิ่มขึ้น เสียงดัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้เวลาเปลี่ยนผ้าเบรกแล้ว  
8. ไฟเตือนระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ผิดปกติ
แจ้งเตือนว่าระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ทำงานผิดปกติ คุณยังบังคับพวงมาลัยได้ แต่จัรู้สึกว่าพวงมาลัยสั่น หนัก บังคับได้ยากโดยเฉพาะช่วงเลี้ยว วิธีแก้คือจอดรถแล้วรอให้ไฟดับไปเอง แต่หากว่าไฟยังคงกะพริบต่อเนื่องและพวงมาลัยยังหนักอยู่ ต้องนำรถไปเช็กพวงมาลัยพาวเวอร์
ไฟเตือนระบบควบคุมความเร็วให้คงที่

9. ไฟเตือนระบบ Adaptive Cruise Control หรือระบบควบคุมความเร็วให้คงที่ แจ้งเตือนว่าขณะนี้คุณเปิดใช้ระบบ Adaptive Cruise Control ซึ่งเป็นระบบช่วยขับ ช่วยปรับความเร็วให้คงที่ตามที่ตั้งไว้โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเหยียบคันเร่งค้างไว้ โดยใช้ระบบเซ็นเซอร์หรือกล้องรถยนต์ช่วยตรวจจับรถคันหน้า หากคันข้างหน้าลดความเร็ว รถของคุณก็จะปรับความลงด้วยเช่นกัน เพื่อรักษาระยะห่างที่เหมาะสมกันไม่ให้เกิดการชนขึ้น ซึ่งระบบไฟจะแจ้งเตือนเพื่อให้คุณทราบว่าใช้ระบบนี้อยู่ กันไม่ให้ลืมปิดระบบนี้เมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว

บทความที่น่าสนใจ  แก้ อาการรถแข็งกระด้าง สำหรับรถยนต์ที่เพิ่งเปลี่ยนโช๊คอัพใหม่
ไฟเตือนกุญแจรถ
10. ไฟเตือนกุญแจรถ มีเฉพาะในรถยนต์ที่ใช้กุญแจระบบ Keyless Entry
ไม่ต้องควักกุญแจออกจากกระเป๋าเพื่อมาเสียบรูกุญแจ ซึ่งหากสัญญาณไฟนี้ปรากฏขึ้นมาหมายถึงว่าตัวรถไม่พบสัญญาณกุญแจ กุญแจไม่ได้อยู่ในบริเวณ อาจลืมไว้ข้างนอกรถ แบตเตอรี่กุญแจหมดจน จึงไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังตัวรถเพื่อสตาร์ตรถได้

สัญลักษณ์แจ้งเตือนบนหน้าปัดไฟสีเขียว (หรือฟ้า หรือขาว)

สัญลักษณ์เหล่านี้ซึ่งแจ้งเตือนเป็นไฟสีเขียว​ (หรือฟ้า หรือขวา) เป็นการแจ้งบอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบในรถยนต์ที่คุณกำลังใช้งานอยู่ ไม่ได้แจ้งเตือนความผิดปกติแต่อย่างใด และเมื่อคุณปิดระบบนั้น ไฟแจ้งเตือนก็จะดับลง

1.ไฟตัดหมอกหน้า เตือนว่าคุณเปิดไฟตัดหมอกด้านหน้าอยู่ กันไม่ให้ปิดสลับกับไฟหน้า หรือกันไม่ให้ลืมปิดไฟตัดหมอกเมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว เพราะไฟตัดหมอกมีความสว่าจ้ามากกว่าไฟหน้าปกติและไฟสูง ควรใช้เฉพาะเมื่อมีหมอกหนาหรือฝนตกหนัก ๆ เพราะหากใช้ในสภาพแวดล้อมปกติ แสงไฟจ้าอาจทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ตาพร่าเลือนจนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้

2. ไฟสูง เพื่อบอกว่าไฟที่คุณใช้อยู่ขณะนี้คือไฟสูง ส่องสว่างได้ไกลกว่าไฟหน้าปกติ ซึ่งควรใช้เฉพาะตอนที่ไม่มีรถคันอื่น ๆ อยู่ข้างหน้าและสวนทางเท่านั้น ไฟจึงปรากฏขึ้นมาเพื่อให้ทราบว่าคุณใช้ไฟสูงอยู่ ไม่ใช่ไฟปกติ และควรเปลี่ยนเป็นไฟปกติทันที เมื่อเห็นรถคันอื่นเข้ามาในรัศมีแสงไฟ

สัญญาณไฟหรี่
3. ไฟหรี่ ซึ่งเป็นไฟที่เอาไว้บอกตำแหน่งของตัวรถ ให้ผู้ขับขี่รถร่วมถนนคันอื่น ๆ เห็นรถของเราได้โดยง่ายขึ้น ช่วยบอกว่าตอนนี้คุณเปิดไฟอยู่ ไม่ใช่ไฟหน้าที่ให้แสงสว่างมากกว่า 
สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา
4. สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา
เพื่อบอกว่าคุณกำลังส่งสัญญาณไฟว่าจะเลี้ยวรถไปทางซ้ายหรือขวา ควรเปิดก่อนเลี้ยวประมาณ
30
เมตรและให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า
60
เมตร และควรปิดเมื่อไม่ต้องการใช้งาน
5. ระบบจอดรถอัตโนมัติ
แจ้งว่าคุณกำลังเปิดระบบช่วยจอดรถซึ่งพบได้ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ
โดยรถยนต์จะใช้เซ็นเซอร์กะระยะตรวจสอบว่ามีสิ่งใดเข้าใกล้รถยนต์ของคุณหรือไม่ หากว่าเข้าใกล้มากเกินไปจะมีเสียงร้องเตือนดังขึ้น ระบบนี้มักเปิดไว้อัตโนมัติแต่คุณสามารถปิดได้เช่นกัน 

สรุป

รถยนต์ของคุณอาจมีสัญลักษณ์แจ้งเตือนน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์แต่ละรุ่น และเนื่องจากระบบเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาจมีการถอดสัญลักษณ์เก่า ๆ ออกไปและใส่สัญลักษณ์ใหม่เข้ามา ดังนั้นคุณควรศึกษาคู่มือรถยนต์ของคุณเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย

บทความที่น่าสนใจ  เปลี่ยนโช๊คอัพคู่หน้ารถเก๋งแค่อย่างเดียว ไม่เปลี่ยนคู่หลังได้ไหม

พบกับข่าวสารหรือเคล็ดลับการดูแลรถยนต์เบื้องต้นและการปรับแต่งช่วงล่างรถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานจาก Profender ได้ที่ Profender4x4.com  หรือหน้าเฟสบุ้ก Profendershox

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.