การขับขี่ยวดยานพาหนะในสภาพถนนที่ต่างกัน ต้องพึ่งพายางรถที่มีแรงดันแตกต่างกันไปด้วย เพราะยางที่แข็งหรืออ่อนจะมีประสิทธิภาพต่างกันและเหมาะกับการใช้งานที่แตกกันด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าเราเอารถขับไปเที่ยวตั้งแคมป์ 1 อาทิตย์ ถนนขรุขระ ขึ้นเขา ลงห้วย และหลังจากกลับมาจากทริปแล้ว เราเอารถมาขับในถนนสีลม ทั้งสองภาพถนนที่กล่าวมานั้นต่างกัน เราจึงต้องมีการ เพิ่มและลดแรงดัน ลมยาง ให้เหมาะกับสภาพที่เราต้องใช้งานด้วย
ระดับแรงดันลมยางมาตรฐาน
ก่อนอื่นเลย คุณควรรู้จักกับ ค่าแรงดันลมยางมาตรฐานเสียก่อน เพราะเป็นค่าที่เหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไป วิ่งในเมืองบนถนน โดยรถแต่ละประเภทจะมีค่ามาตรฐานที่ต่างกันไป ดังนี้
- รถเก๋ง ใช้งานไม่หนัก ผู้โดยสารไม่เต็มและบรรทุกของน้อย ค่ามาตรฐานแรงดันลมยางอยู่ที่ 30-32 PSI
- รถเก๋ง ที่มีผู้โดยสารเต็มทั้ง 5 ที่นั่งและบรรทุกสัมภาระเต็มอัตรา ค่ามาตรฐานแรงดันลมยางอยู่ที่ 33-35 PSI
- รถกระบะและกระบะออฟโรด ค่ามาตรฐานแรงดันลมยางสำหรับล้อหน้าและหลังอยู่ที่ 29-32 PSI
- รถตู้บรรทุก มีผู้โดยสาร 7-10 คน ค่ามาตรฐานแรงดันลมยางอยู่ที่ 43-55 PSI
หมายเหตุ: ค่า PSI คือหน่วยวัดแรงดันลมยางที่เป็นมาตรฐานสากล หมายถึงปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ Pound-force per square inch ย่อได้ว่า PSI
นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบได้ว่ารถยนต์ที่คุณมีควรเติมลมยางเท่าไรได้จากสติกเกอร์แนะนำค่าแรงดันลมยางที่เหมาะซึ่งอยู่ตรงประขอบประตูของรถคันนั้น ๆ อีกด้วย ซึ่งค่าเป็นค่าที่บริษัทผลิตรถยนต์คันนั้น ๆ แนะนำเอาไว้ ทางโปรเฟนเดอร์แนะนำให้คุณยึดกับค่าแรงดันจากสติกเกอร์ที่โรงงานติดมาให้ เพราะเป็นค่าที่เหมาะสมกับรถรุ่นนั้นๆ แต่หากคุณมีการใช้งานที่มากหรือน้อยกว่าปกติ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษากับช่างใกล้บ้าน
ทำไมถึงต้องเพิ่มหรือลดแรงดันลมยาง
การเติมลมยางตามแรงดันค่ามาตรฐานที่แนะนำก็เพื่อให้ใช้งานรถได้อย่างปลอดภัยที่สุด แต่อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าค่ามาตรฐานลมยางนี้เหมาะสำหรับการใช้งานรถแบบทั่วไป
หากว่าคุณเปลี่ยนลักษณะการใช้งาน ก็ควรเพิ่มหรือลดลมยางลงด้วย นั่นเป็นเพราะแรงดันลมยางหรือความแข็งอ่อนของยางส่งผลต่อความนุ่มนวลของการขับขี่และยังส่งผลต่อการยึดเกาะถนนอย่างมาก
เพิ่มลมยางตอนไหน
การเพิ่มลมยางจากค่ามาตรฐานที่แนะนำกันสักขึ้นไปสัก 2-3 PSI จะช่วยให้รถยนต์ของคุณใช้งานได้ดีหากอยู่ในสถานการณ์ดังนี้
- เมื่อต้องการขนของมากขึ้น ต้องการบรรทุกน้ำหนักให้มากขึ้นกว่าปกติ
- หากอยากให้รถพุ่งตัวได้ดี ออกตัวได้เร็ว ไม่อืดอาด
- เน้นการประหยัดน้ำมัน เพราะยางที่อ่อนหรือแบนจะกินน้ำมันมากกว่า เนื่องจากต้องใช้แรงเพื่อขับเคลื่อนสูงกว่าเดิม
- ต้องการให้ค่าแรงดันยางอยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะเมื่อใช้งานไป 2-3 เดือน ลมยางจะอ่อนลงไปเรื่อย ๆ
ลดลมยางตอนไหน
การลดลมยางจากค่ามาตรฐานที่แนะนำลง 2-3 PSI จะช่วยให้รถยนต์ของคุณใช้งานได้ดีหากอยู่ในสถานการณ์ดังนี้
- ต้องการให้รถเกาะถนนมากขึ้น เพราะหน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากขึ้น การเลี้ยวหรือเข้าโค้งจึงทำได้แม่นยำกว่า เหมาะกับสถานการณ์ขับรถขึ้นเขา
- ลดแรงดันลมยาง เมื่อคุณต้องการกันไม่ให้ยางฉีกขาดเมื่อวิ่งบนถนนขรุขระหรือมีหินลูกรังเยอะ เพราะยางจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเวลาที่ยางแข็ง
- ต้องการให้ยางเกาะพื้นผิวถนนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวขรุขระ ถนนราดยาง พื้นผิวไม้ หรือพื้นผิวที่ไม่เรียบ เพราะยางที่นิ่มจะยืดหยุ่น สัมผัสพื้นผิวเยอะกว่า และมีความหนืดมากกว่าเมื่อรถเคลื่อนตัว
- เมื่อต้องขับขี่ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ เพื่อลดโอกาสยางแตกหรือยางระเบิดเพราะแรงดันขยายตัวด้วยความร้อนที่เกิดจากรถวิ่งเร็ว ๆ
วิธีตรวจสอบแรงดันลมยางและการเติม/ลดลมยาง
วิธีการตรวสอบแรงดันลมยาง และการเติมและลดลมยางเริ่มต้นด้วยขั้นตอนคล้าย ๆ กัน โดยเราจะอธิบายตั้งแต่การตรวจสอบแรงดันลมยาง ไปจนถึงการเติมหรือลดลมยางผ่านตู้เติมลมอัตโนมัติตามปั๊มน้ำมันที่ใช้งานง่ายมาก
- จอดรถให้นิ่งสนิท ใส่เบรกมือให้เรียบร้อยเพื่อกันไม่ให้รถขยับ
- เปิดจุกวาล์วที่ล้อยาง
- หากต้องการเช็กระดับแรงดันลมยาง ให้ใช้หัวจ่ายลมยางของตู้เติมลมกดลงไปยังจุกที่ล้อจนได้ยินเสียงฟี้ ๆ เบา ๆ จากนั้นตัวเลขระดับแรงดันลมยางจะปรากฏที่ตู้เติมลม แต่หากคุณไม่ได้ใช้ตู้เติมลมอัตโนมัติตามปั๊ม ขั้นตอนนี้ต้องใช้เครื่องวัดแรงดันยางแทน เมื่อรู้ระดับแรงดันแล้วให้ถอดหัวจ่ายลมยางออก
- เมื่อต้องการเติมลมยาง ให้กดระดับแรงดันลมยางที่ตู้เติมลม แล้วเสียบหัวจ่ายกลับเข้าไปที่จุกลมยาง เมื่อเติมลมยางได้ระดับแรงดันที่ต้องการแล้ว เครื่องจะส่งเสียงปี๊บ ๆ ร้องเตือน
- หากต้องการลดระดับลมยาง ให้ใช้แท่งเหล็กขนาดเล็กที่มักติดอยู่ข้าง ๆ หัวจ่ายลมกดลงไปในวาล์วล้อ กดเบา ๆ แล้วลมจะค่อย ๆ ถูกปล่อยออกมา จากนั้นคอยวัดระดับแรงดันลมยางอีกครั้ง ทำซ้ำจนกว่าจะได้ระดับแรงดันลมยางที่ต้องการ
คำแนะนำพิเศษอีกอย่างก็คือ…คุณควรวัดระดับแรงดันลมยางในขณะที่ยางมีอุณหภูมิปกติ หรือก็คือหลังจากใช้งานรถอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือวิ่งช้า ๆ มาไม่เกิน 2-3 กิโลเมตร เพราะระยะสั้น ๆ และขับช้า ๆ แบบนี้ยังไม่ก่อให้เกิดความร้อนจนเพิ่มแรงดันยางขึ้น ซึ่งหากใช้จนยางร้อน แรงดันลมยางจะเพิ่มกว่าปกติ 3-4 PSI เลยทีเดียว สามรถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: Profendershox
บทความที่น่าสนใจ
สินค้าที่น่าสนใจ
NAVARA PRO4X
D-MAX V-CROSS 4WD/ HILANDER
NAVARA D40