รู้หรือไม่ว่านอกจากโช๊คอัพและช่วงล่างแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยเสริมความนุ่มนวลและปลอดภัยให้กับรถกระบะหรือรถเก๋งของคุณ นั่นคือ ลมยาง รถยนต์
ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถเก๋ง รถเก๋ง 5 ที่นั่ง รถกระบะ Isuzu (อีซูซุ) กระบะ Vigo (วีโก้) หรือ Vigo Prerunner (วีโก้ พรีรันเนอร์) หรือ รถกระบะ 4 ประตูอื่น ๆ คุณก็ควรให้ความสำคัญกับระดับแรงดันยางของรถคุณ
ระดับ ลมยาง มีผลต่อการขับขี่อย่างไร
หลายคนคงทราบดีว่ายางรถยนต์คือ ส่วนที่ทำหน้าที่รองน้ำหนักรถยนต์ทั้งคัน ช่วยลดแรงสั่นและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นเมื่อหน้ายางสัมผัสกับพื้นถนน ทำหน้าที่ขับเคลื่อน หยุด และเปลี่ยนทิศทางรถยนต์
ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีลมยางอยู่ด้านใน ลมยางที่อยู่ด้านในจะช่วยให้ยางทำหน้าที่เหล่านี้ของตัวเองได้ แต่จะดีขนาดไหน หรือแย่ขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันยางด้วยเช่นกัน
ลมยาง แข็งเกินไป
หลายคนชอบเติมยางรถยนต์ให้แน่ ๆ เต็มพิกัดที่ยางรับไหว ซึ่งส่งผลให้ยางมีความแข็งและแน่นมาก ๆ แต่การเติมลมยางจนมีแรงดันมากจนแข็งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี
- บรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น
- ออกตัวได้ดีกว่า รถพุ่งตัวได้ดีมากกว่า ไม่ช้า ไม่หนืด
ข้อเสีย
- ควบคุมรถได้ยากขึ้น รถจะเกาะถนนได้น้อยลงเพราะหน้ายางไม่มีความยืดหยุ่น
- ระยะเบรกไกลกว่าเดิม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ต้องเผื่อระยะเบรกให้มากขึ้น
- ความนิ่มนวลของการขับขี่มีน้อยลง แรงสั่นสะเทือนจะส่งเข้าสู่ห้องโดยสารมากขึ้น
- ดอกยางด้านหน้าจึงสึกไวกว่าปกติ เพราะหน้ายางจะสัมผัสพื้นถนนมากขึ้นและทำงานหนักมากขึ้น
ลมยาง อ่อนเกินไป
หากคุณคิดว่าเติมลมแข็งไม่ค่อยตอบโจทย์เลยอยากลองเติมลมยางให้อยู่ในระดับต่ำ หรือที่เรียกกันว่าลมยางอ่อน ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเท่านั้น เพราะเมื่อแรงดันยางต่ำ การขับขี่ก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน
ข้อดี
- การขับขี่นุ่มนวลมาก เพราะยางที่มีลมอ่อนจะช่วยซับแรงกระแทกกระเทือนได้ดีกว่า
- รถเกาะถนนมากขึ้น
ข้อเสีย
- ยางมีโอกาสระเบิดได้มากกว่าเมื่อขับขี่บนถนนขรุขระ เพราะแก้มยางสั่นมากกว่าปกติจนเกิดความร้อนสะสมในยางสูงมากเกินกว่ายางจะรับไหว
- รถยนต์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเนืองจากยางมีความหนืด ยางรับน้ำหนักรถมากขึ้น จึงต้องใช้น้ำมันในการเร่งเครื่องมากกว่าปกติ
- ดอกยางสึกไม่เท่ากัน ดอกยางสึกไม่สม่ำเสมอ เพราะหน้ายางสัมผัสผิวถนนไม่เท่ากัน
ข้อดีของการเติม ลมยาง พอดี
เพราะการเติมลมยางแข็งหรืออ่อนเกินไปจะส่งผลต่อการขับขี่เป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณควรเติมลมยางให้พอดี เนื่องจากจะส่งผลให้การขับขี่เป็นไปได้ด้วยดี ดังนี้
- ยางทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
- ควบคุมรถได้ดีมากขึ้น เกาะถนน เข้าโค้งได้เฉียบคม
- ขับขี่ได้นุ่มนวล ไม่กระเด้ง ไม่โยน และไม่ยวบยาบจนเกินไป
- ประหยัดน้ำมัน
- ยืดอายุการใช้งานยางได้มากขึ้น
รถแบบไหนต้องเติมลมยางเท่าไร
หลังจากเห็นข้อดีข้อเสียของรถที่ใช้ยางที่มีแรงดันลมยางแข็งและอ่อนเกินไปแล้ว เราก็ควรมาดูกันว่าแรงดันลมยางแบบไหนเหมาะกับรถของคุณ
ก่อนอื่นคุณต้องรู้จักกับคำว่า PSI เสียก่อน ค่า PSI คือหน่วยวัดแรงดันลมยางที่ใช้กันเป็นมาตรฐานสากล หมายถึง ปอนด์ต่อราตารางนิ้ว หรือ Pound-force per square inch ย่อได้ว่า PSI
- รถกระบะ รถออฟโรด รถ 4×4 รถกระบะ 4 ประตู ควรเติมลมยางที่ 36-38 PSI สำหรับล้อหน้า และ 40-42 PSI สำหรับล้อหลัง
- รถเก๋ง โดยสารและบรรทุกปกติ ควรเติมลมยางที่ 30-32 PSI
- รถเก๋งและนั่งเต็มทั้ง 5 คนก็ควรเติมลมยางเพิ่มได้ถึงประมาณ 33-35 PSI
- รถตู้บรรทุก มีผู้โดยสาร 7-10 คน ควรเติมลมยางที่ 43-55 PSI
วิธีตรวจสอบลมยาง
วิธีตรวจสอบลมยางรถยนต์เพื่อความปลอดภัยของการขับขี่นั่นทำได้ไม่ยาก ทำได้ด้วยตัวเอง แต่สิ่งสำคัญก็คือความสม่ำเสมอในการตรวจเช็กลมยางมากกว่า
- หมุนจุกยางล้อออก
- เสียบเกจ์วัดแรงดันยางเข้าไปในรูแล้วค้างทิ้งไว้สักครู่
- ตรวจสอบค่าแรงดันยางที่ปรากฏบนหน้าจอเกจ์วัด
- เติมลมยางตามระดับแรงดันที่แนะนำ แล้วหมุนจุกยางล้อกลับคืน
ข้อควรระวังเมื่อตรวจสอบและเติมลมยาง
แต่ก่อนจะตรวจเช็กและเติมลมยางรถยนต์ คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้เสียก่อน เพื่อความแม่นยำของแรงดันลมยาง และเพื่อความปลอดภัยของคุณเอง
- ควรวัดและเติมลมยางตอนที่ยางยังเย็นอยู่ หรือเพิ่งวิ่งมาไม่เกิน 2 กิโลเมตร เพราะหากวิ่งนานกว่านั้นยางรถยนต์จะร้อนซึ่งส่งผลให้อากาศภายในขยายตัว แรงดันลมจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ การวัดแรงดันลมยางอาจผิดพลาดได้
- ควรเติมลมยางให้มีแรงดันมากกว่าปกติ 2 ปอนด์ เพื่อชดเชยความดันที่จะลดลงเมื่อใช้รถ
บทสรุป
นอกจากควรเช็กระดับแรงดันลมยางเป็นประจำแล้ว คุณควรเช็กหน้ายาง ตรวจสอบดูว่าดอกยางยังมีเหลืออยู่มั้ย ผิวหน้ายางเรียบจนควรเปลี่ยนยางใหม่หรือไม่ และควรเปลี่ยนยางรถยนต์ทุก ๆ 2-5 ปี หรือใช้งานไปแล้ว 30,000-40,000 กิโลเมตร เพื่อให้ยางสามารถเกาะถนนได้ดี ควบคุมรถได้ง่าย
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Profendershox
บทความที่น่าสนใจ
สินค้าที่น่าสนใจ
REVO ROCCO